วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด เรื่องความหมายของซอฟต์แวร์
2. ซอฟตแวรแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
3. ซอฟตืแวร์ระบบคืออะไร
4. ซอฟตแวร์ประยุกต์คืออะไร
5. จงยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในซอฟตแวร์ระบบและซอฟต์แวรประยุกต์มาอย่าง 2-3ตัวอย่าง
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ใบความรู้ ที่ 3.6 เรื่อง ความหมายของอฟต์แวร์
ใบความรู้ ที่ 3.6 เรื่อง ความหมายของอฟต์แวร์
คำชี้แจง : ให้นักเรียนคลิกเข้าไปลิงค์ต่อไปนี้ http://www.slideshare.net/waraporncomed/3-29235851
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความหมายของซอฟต์แวร์
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียนรู้ซอฟต์แวร์
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียนรู้ซอฟต์แวร์
คำชี้แจง : ให้นักเรียนคลิกเข้าไปลิงค์นี้ http://www.slideshare.net/waraporncomed/4-29235456
แล้วเขียนโจทย์และคำตอบลงในสมุด เวลาในการทำแบบทดสอบก่อนเรียน 15 นาที
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เรียนรู้คอมพิวเตอร์
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เรียนรู้คอมพิวเตอร์
คำชี้แจง : ให้นักเรียนคลิกเข้าไปลิงค์นี้ http://www.slideshare.net/waraporncomed/3-29235329
แล้วเขียนโจทย์และคำตอบลงในสมุด เวลาในการทำแบบทดสอบ 20 นาที
แล้วเขียนโจทย์และคำตอบลงในสมุด เวลาในการทำแบบทดสอบ 20 นาที
วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ใบความรู้ที่ 3.1 เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่
3.1
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข
ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ"
กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด" ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำนวณแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษคือ
Blaise
Pascalโดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง
และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มัน คือ Gottried Wilhelm von
Leibnizได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
ในต้นศตวรรษที่
19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถตั้งโปรแกรมได้
โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ซึ่งได้เจาะรูไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก
บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles
Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำเรียกว่า
difference engineและถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical
engine)โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ
ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล
ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลหน่วยแสดงผล
และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่
แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขาจะถูกต้องแต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง
อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรกและผู้ร่วมงานของเขาคือ
Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก
เครื่อง
Difference
Engine ของ Charles Babbage
จากนั้นประมาณปี
ค.ศ. 1886
Dr.Herman Hollerith ได้พัฒนาเครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูแบบ electromechanical
ขึ้นซึ่งทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าและสามารถทำการ จัดเรียง (sort)
และ คัดเลือก (select) ข้อมูลได้ ต่อมาในปี
ค.ศ. 1896 Hollerith ได้ทำการก่อตั้งบริษัทสำหรับเครื่องจักรในการจัดเรียงชื่อTabulating
Machine Company และในปี ค.ศ.1911 Hollerith ได้ขยายกิจการโดยเข้าหุ้นกับบริษัทอื่นอีก
2 บริษัทจัดตั้งเป็นบริษัท Computing
-Tabulating-Recording-Company ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
และในปี ค.ศ. 1924 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นInternational
Business Corporation หรือที่รู้จักกันต่อมาในชื่อของบริษัท IBM
นั่นเอง
เครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูของ
Dr.
Her Hollerith
ในปี
ค.ศ.1939
Dr. Howard H. Aiken จาก Harvard University ได้ร่วมมือกับบริษัท
IBM ออกแบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีของBabbageและในปี ค.ศ.1944 Harvard mark I ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก
ซึ่งมีขนาดยาว 5 ฟุต ใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้ relay แทนเฟืองแต่ยังทำงานได้ช้าคือใช้เวลาประมาณ 3-5
วินาทีสำหรับการคูณ
การพัฒนาที่สำคัญกับ Mark
I ได้เกิดขึ้นปี 1946 ดดย Jonh Preper
Eckert, Jr. และ Dr. Jonh W.Msuchly จาก University
of Pennsylvniaได้ออกแบบสร้างเครื่อง ENIAC ( Electronic
Numeric Integator and Calcuator ) ซึ่งทำงานได้เร็วอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนล้านวินาทีในขณะที่
Mark I ทำงานอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนพันล้านเท่า
โดยหัวใจของความสำเร็จนี้อยู่ที่การใช้หลอดสูญญากาศมาแทนที่ relay นั่นเองและถัดจากนั้น Mauchly และ Eckert ก็ทำการสร้าง UNIVAC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิส์เพื่อการค้าเครื่องแรกของโลก
เครื่อง
ENIAC
สูง 10 ฟุต กว้าง 10 ฟุต
และยาว 10 ฟุต
การพัฒนาที่สำคัญได้เกิดขึ้นมาอีก
เมื่อ Jonh
von Neumann ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการ ENIAC ได้เสนอแผนสำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จะทำการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำที่เหมือนกับที่เก็บข้อมูลซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สามารถเปลี่ยนวงจรของคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติแทนที่จะต้องทำการเปลี่ยนสวิทต์ด้วยมือเหมือนช่วงก่อน
นอกจากนี้ Dr. Von neumann ยังได้นำระบบเลขฐานสองมาใช้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งหลักการต่างๆเหล่านี้ได้ทำให้เครื่อง
IAS ที่สร้างโดย Dr. von Neumann เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์เครื่องแรกของโลกเป็นการเปิดศักราชของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริงและยังได้เป็นบิดาคอมพิวเตอร์คนที่
2
ยุคของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สามารถแบ่งออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) เป็น 5 ยุคด้วยกัน
ยุคที่ 1
(The First Generation)ปี ค.ศ. 1951 – 1958
คอมพิวเตอร์ในยุคแรกนี้
ใช้หลอดสูญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำให้ต้องการกำลังไฟฟ้าเลี้ยงวงจรที่มีปริมาณมากและทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นมากจึงต้องติดตั้งเครื่องในห้องปรับอากาศ
ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่
สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ บัตรเจาะรู
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงาน
คือ ภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสอง ทำให้เข้าใจยาก
สรุป
อุปกรณ์ :
ใช้หลอดไฟสุญญากาศและวงจรไฟฟ้า
หน่วยวัดความเร็ว :
วัดเป็นวินาที ( Second)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ :
ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์
: Univac
I, IBM 650, IBM 700, IBM 704, IBM 705, IBM 709 และ MARK I
MARK
I
ยุคที่ 2 (The
Second Generation) ปี ค.ศ. 1959 – 1964
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
กินไฟน้อยลง ราคาถูกลง เพราะมีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น ความเร็วในการทำงานเท่ากับ 1/103 วินาที (มิลลิเซคคั่น)
และได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากกว่าใช้หลอดสูญญากาศ ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ
200 เท่า และได้มีการสร้างวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic core) มาใช้แทนดรัมแม่เหล็ก (Magnetic drum) เป็นหน่วยความจำภายในซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่ง
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมในยุคที่
2 นี้ คือ ภาษาแอสแซมบลี้ (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง
ๆ ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ เช่น IBM
1620,IBM 401, Honeywell
สรุป
อุปกรณ์ :
ใช้ทรานซิสเตอร์(Transistor) แทนหลอดไฟสูญญากาศ
หน่วยวัดความเร็ว :
วัดเป็นมิลลิวินาที ( Millisecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ :
ภาษาแอสแซมบลี (Assembly) , ภาษาฟอร์แทรน
(FORTRAN)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ :
IBM
1620, IBM 1401, CDC 6600,
NCR 315 , Honey Well
Honey
Well
ยุคที่ 3
(The Third Generation) ปี ค.ศ. 1965 – 1970
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนามาใช้ในยุคนี้เป็นวงจรรวม หรือ เรียกว่าไอซี
(IC
: Integrated Circuit) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่นซิลิคอน
(silicon) บาง ๆ ที่ เรียกว่า ซิป (Chip) ในซิปแต่ละตัวจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันตัว
จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็ลงกว่าเดิมแต่ความเร็วในการทำงานสูงขึ้น
ความเร็วในการทำงานเป็น 1/106 วินาที่ (ไมโครเซคคั่น)
กินไฟน้อยลง ความร้อนลดลงปละประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเป็นวงจรรวม
คอมพิวเตอร์จะถูกออกแบบเพื่อใช้กับงานแต่ละอย่าง เช่น
ใช้ในงานคำนวณหรือใช้กับงานธุรกิจ
เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนามาใช้วงจรรวมก็สามารถใช้กับงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
IBM 360
เป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่สามารถทำงานได้ทั้งการประมวลผลแฟ้มข้อมูล
และวิเคราะห์ค่าทางคณิตศาสตร์ ต่อมาบริษัท DEC (Digital Equiptment
Corporation) ได้หันมามุ่งผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับ IBM มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
จึงถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงยุคที่ 2
และนิยมใช้กันแพร่หลาย DEC ได้แนะนำมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก
และ PDP1
เป็นหนึ่งในมินิคอมพิวเตอร์ยุคแรกที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์
นักวิศวกร และนักวิจัยตามมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ก็เกิดขึ้น
โปรแกรมมาตรฐานได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นวงจรรวม
และใช้เครื่องมาหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงทางด้านฮาร์ดแวร์
สรุป
อุปกรณ์ :
ใช้วงจรแบบไอซี (IC) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่น
ซิลิกอน ( Silicon) ที่เรียกว่า Chip
หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นไมโครวินาที
( Microsecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : COBOL
, PL/1 , RPG , BASIC
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์
: IBM
360 , CDC 3300 , UNIVAC 9400 BURROUGH 7500 , PDP1
UNIVAC
ยุคที่ 4
(The fourth Generation) ปี ค.ศ. 1971
ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาเอาวงจรรวมหลาย ๆ
วงจรมารวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า LSI (Large Scalue
Integrated) ลงในซิปแต่ละอัน บริษัทอินเทล (Intel) ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งเป็นซิป
1 อัน
ที่ประกอบด้วยวงจรทั้งหมดที่ต้องใช้ในการประมวลผลโปรแกรม
ไมโครโปรเซสเซอร์ซิปที่ใช้ในเครื่องพีซี
(PC
: Personal Computer) มีขนาดกระทัดรัดประกอบด้วยส่วนประกอบของ
ซีพียู (CPU) 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และ หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic / Logic Unit)
ปัจจุบันได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายหมื่นวงจรรวมอยู่ในซิปเดียว
เป็นวงจร LSI (Large Scalue Integrated) และ VLSI
(Very Large Scale Integrated) ในยุคนี้ได้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดเล็ก
ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ได้รับความนิยมมากเพราะมีขนาดเล็ก กระทัดรัดและราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ทำงานเร็วขึ้น ความเร็วในการทางานเป็น 1/109 วินาที
(นาโนเซคคั่น) และ 1/1012 วินาที (พิโคเซคคั่น)
นอกจากนี้วงจร LSI ยังได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นการลด
ค่าใช้จ่ายพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
สรุป
อุปกรณ์ : ใช้ระบบ LSI
( Large Scale Integrated ) ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายพันตัวและต่อมาได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็น
VLSI ซึ่งก็คือ Microprocessor หรือ CPU
หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นนาโนวินาที
( Nanosecond)
และพิโควินาที (Picosecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาปาสคาล
(PASCAL)
, ภาษาซี (C)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ : IBM
370
เนื่องจากการเพิ่มความจุของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองนี่เอง
ซอฟต์แวร์ชนิดใหม่ได้พัฒนาขึ้น
เพื่อให้สามารถเก็บรวมรวบและบันทึกแก้ไขข้อมูลจำนวณมหาศาลที่ถูกจัดเก็บไว้ นั่นคือ
ซอฟร์แวร์ ฐานข้อมูล (Data base ) นอกจากนี้
ยังมีการถือกำเนิดขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 1975 คือเครื่อง Altair ซึ่งใช้ชิฟ intel 8080 และถัดจากนั้นก็เป็นยุคของเครื่อง และ ตามลำดับ
ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็ได้มีการพัฒนาให้เป็นมิตรกับผู้ใช้
มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการนำเทคนิคต่าง ๆ เช่น OOP
(Object-Oriented Programming) และ Visual Programming มาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนา
การพัฒนาที่สำคัญอื่นๆในยุคที่ 4 คือการพัฒนาเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ โดยการใช้งานภายในองค์กรนั้น
ระบบเครื่อข่ายท้องถิ่น (Local Araa Networks) ซึ่งนิยมเรียกว่า
แลน (LANs) จะมีบทบาทในการเชื่องโยงเครื่องนับร้อยเข้าด้วยกันในพื้นที่ห่างไกลกันนัก
ส่วนระบบเครื่องข่ายระยะไกล ( Wide Area Networks ) หรือ แวน
(WANs) จะทำหน้าที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลคนละซีกโลกเข้าด้วยกัน
IBM
370
ยุคที่ 5
(The Fifth Generation) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 - 1989
ในยุคที่ 4 และยุคที่ 5 ก็จัดเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแต่ในยุคที่ 5
นี้มีการใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยการจัดการและนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารจึงเกิดสาขา MIS
(Management Information System) ขึ้น
ในปี ค.ศ 1980
ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดและ ตัดสินใจได้เอง
โดยสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มี “สติปัญญา” เพื่อใช้ในการตัดสินใจแทนมนุษย์จึงเกิดสาขาใหม่ขึ้นเรียกว่า
สาขาปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) สาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาที่เน้นถึงความพยายามในการนำเอากระบวนการทางความคิดของมนุษย์มาใช้ในการ
แก้ปัญหาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้มีการตื่นตัวในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล
(Database) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานทางด้านกราฟิก
และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง
เช่น งานการเงิน งานงบประมาณ งานบัญชี งานสต๊อกสินค้า เป็นต้น
ยุคที่ 6
(Sixth Generation) ปี ค.ศ.
1990- ปัจจุบัน
ที่ผ่านมาทั้ง 5 ยุค
พัฒนาการของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางการปรับปรุงการผลิต และการ
เสริมสร้างความสามารถทางด้านการคำนวณของคอมพิวเตอร์
เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการจำกัด
ความสามารถทางด้านการป้อนข้อมูล ในปัจจุบัน
ความต้องการทางด้านการป้อนข้อมูลอย่างอิสระ โดยใช้เสียงและภาพ ซึ่งถือเป็น
การป้อนข้อมูลโดยธรรมชาตินั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
ความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ไม่เป็นเพียงแต่เครื่องคำนวณ จึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการ
ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาสังคม
เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การติดต่อระหว่างประเทศและอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษปี 1990 เช่น
1) การพัฒนาด้านการผลิตของอุตสาหกรรม
การตลาด ธุรกิจ
2) การพัฒนาทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ
3) การช่วยเหลือทางด้านการประหยัดพลังงาน
4) การแก้ไขปัญหาของสังคม การศึกษา
การแพทย์
ความสามารถที่คอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 ควรจะมี อาจแบ่งได้ดังนี้
1) การพัฒนาปัญญาให้คอมพิวเตอร์
เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นผู้ช่วยของมนุษย์ได้
สำหรับการพัฒนาด้านปัญญาของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า AI (artificial
intelligence) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาด้านการป้อนข้อมูลด้วยเสียงและภาพ
ความสามารถในการโต้ตอบด้วยภาษาพูด
ความสามารถในการเก็บข้อมูลในด้านความรู้และการนำความรู้ไปใช้
การค้นหาความรู้จากข้อมูลมหาศาล และอื่น ๆ
2) การลดความยากลำบากในการผลิตซอฟต์แวร์
เป็นการพัฒนาทางด้านการเขียนโปรแกรม พัฒนา ภาษาของโปรแกรมให้ง่ายขึ้น
วิธีการติดต่อกับผู้ใช้ และอื่น ๆ
วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ใบงาน ที่ 3.4 เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบงาน ที่ 3.4 เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์
1. ให้นักเรียนวาดรูป อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ลงในสมุด แล้วเขียนบอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์ที่วาด
3. หน่วยรับข้อมูลคืออะไร จงอธิบาย
4. หน่วยประมวลผลคืออะไร จงอธิบาย
5. หน่วยแสดงผลคืออะไร จงอธิบาย
ใบความรู้ที่ 3.4 เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 3.4 เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์
เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input
Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก
(Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central
Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม
พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย
4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ
และอุปกรณ์แสดงผล
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ
5 หน่วย คือ
หน่วยรับข้อมูล (Input
Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central
Processing Unit : CPU)
หน่วยความจำหลัก (Main
Memory)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary
Memory)
หน่วยแสดงผล (Output
Unit)
กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ
เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ
ให้พร้อมที่จะทำงาน
เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน
ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก ต่อจากนั้น
หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า การประมวลผล
แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ
และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์
หน่วยรับข้อมูล คือ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง
จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
หน่วยประมวลผลกลาง (Central
Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล
และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ
2 ส่วน คือ
หน่วยควบคุม (Control
Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง
หน่วยคำนวณ (Arithmetic
Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น
- การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่
การบวก ลบ คูณ หาร
- การกระทำทางตรรกะ
(AND , OR)
- การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า
ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
- การเลื่อนข้อมูล
(Shift)
- การเพิ่มและการลด
(Increment and Decrement)
- การตรวจสอบบิท (Test Bit)
หน่วยความจำหลัก (Main
Memory)
หน่วยความจำหลัก
เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่
- ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ
ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
- เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
- ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง
ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
- เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว
ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
- อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
2. แรม (RAM : Random Access Memory)
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง
เพื่อใช้ในการประมวลผล
- เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว
สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
- สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ
ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
- การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
หน่วยความจำสำรอง (Secondary
Memory)
หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล
และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้
ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมากอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
จานแม่เหล็ก (Magnetic
Disk)
ฮาร์ดิสก์
เทปแม่เหล็ก (Magnetic
Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ
(Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
จานแสง (Optical
Disk)
เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB)
สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้
หน่วยแสดงผล คือ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ
แสดงผลทางบนจอภาพ
การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ
จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ
pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640
* 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 *
786 จุด
แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
การแสดงผลทางจอภาพ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard
Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง
อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ใบความรู้ เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก
ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super
Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด
โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน
และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA)
งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe
Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง
สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family)
เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ
นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่
มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท
ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ
คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini
Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้
มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย
ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro
Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก
มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด
สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal
Computer : PC)ปัจจุบัน
ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก
อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก
ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน
สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก
คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน
(Desktop
Computer)
แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เบริด์แลนด์ ตอน กำเนินคอมพิวเตอร์
ให้นักเรียนดูวีดีโอ เกี่ยวกัย กำเนินคอมพิเตอร์แล้วสรุปใจความสำคัญลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)